กองทุนรวม

LBDU

One Stop Service ที่ลูกค้าสามารถที่จะเลือกวางแผน การเงิน หรือการลงทุนกองทุนรวมประเภทต่างๆ ของคนฉลาดเลือก

ผลิตภัณฑ์กองทุนรวม

ผลิตภัณฑ์กองทุนรวม

เนื่องจาก Rabbit Life ได้รับใบอนุญาตในการเป็น ตัวแทน ขายกองทุนรวม (LBDU: Limited Broker Dealer Underwriter) จากสำนักงานคณะกรรม การกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. จึงสามารถอำนวย ความสะดวกสบายในเรื่อง การวางแผน การเงินแบบ ครบวงจรให้กับลูกค้า ได้อย่างทั่วถึงด้วยการเป็นตัวแทน ในการให้บริการ ซื้อ - ขายหน่วยลงทุนประเภทกองทุนรวม ต่างๆได้อย่างครบครัน อาทิเช่น

  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • กองทุนรวมตราสารทุน
  • กองทุนรวมตราสารหนี้
  • กองทุนรวมแบบผสม
  • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
  • กองทุนรวมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ทองคำ ฯลฯ

นอกจากนี้ Rabbit Life ยังมีพันธมิตรทางธุรกิจ กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำกว่า 10 แห่งซึ่งมีกองทุนรวม ให้ลูกค้า ได้เลือกลงทุนกันได้ มากกว่า 1,000 กอง Rabbit Life จึงให้ความ สะดวกกับลูกค้าได้มากกว่าในเรื่องการเป็น บริการ แบบ One Stop Service ที่ลูกค้าสามารถที่จะเลือก วางแผนการเงินหรือการลงทุนได้ในคราวเดียวกัน เพียงแค่โทรมาปรึกษาเรา

พันธมิตรทางธุรกิจ

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็ม เอฟ ซี จำกัด (มหาชน)

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็ม เอฟ ซี จำกัด (มหาชน)

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป หากลูกค้าท่านใด มีความประสงค์จะทำรายการซื้อ–ขาย หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน หรือลงทุนเพิ่มเติม ท่านจะต้องตอบแบบสอบถามเรื่อง “การประเมินความเหมาะสมในการลงทุน“ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่ หากผู้ลงทุนท่านใดมิได้ตอบคำถามดังกล่าวอย่างครบถ้วนให้แก่บริษัทจัดการหรือผู้สนับสนุน การขายหน่วยลงทุนฯ ท่านจะไม่สามารถทำรายการซื้อ หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน หรือลงทุนเพิ่มเติม

เปิดบัญชีกองทุนรวม

เปิดบัญชีกองทุนรวม

ยืนยันตัวตนผ่านระบบ National Digital ID หรือ NDID เพื่อเปิดบัญชีกองทุนรวม

NDID คืออะไร

National Digital ID (NDID) Platform คือ Platform กลางของประเทศไทยในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ซึ่ง NDID ถือเป็นระบบกลางสำหรับบริหารจัดการข้อมูล Digital ID เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น การตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (e KYC) เพื่อสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำธุรกรรมต่างๆ ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นระบบที่สร้าง Data Sharing โดยเชื่อมต่อข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ซึ่ง Data Sharing จะช่วยลดความยุ่งยาก ซับซ้อนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ประหยัดเวลา ปลอดภัยและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ แต่ระบบดังกล่าวต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้รับบริการในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องมีหลาย ID

ประเภทสมาชิกของ NDID Platform

NDID Platform มีสมาชิกอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

RP (Relying Party)
  • หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า และต้องการระบบการยืนยันตัวตน
  • ให้บริการลูกค้าได้ทั้ง F2F (Face To Face) และ NonF2F
  • ต้องการการบริการรูปแบบใหม่ Acquire ลูกค้าได้มากขึ้น ลดต้นทุนการบริการ
  • ตย. เช่น บริษัทหลักทรัพย์, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน, บริษัทประกัน, บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ เป็นต้น
IdP (Identity Provider)
  • หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่พิสูจน์ และยืนยันตัวตนของผู้ขอใช้บริการ และต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ธปท/ ETDA
  • สามารถออกสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนได้ เช่น Mobile Banking
  • ตย. เช่น ธนาคาร, บริษัทโทรคมนาคม
AS (Authoritative Source)
  • หน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือของผู้ขอใช้บริการ
  • ตย. เช่น ธนาคาร, NCB, หน่วยงานรัฐ
NDID Platform Model

สรุปประเด็นที่สำคัญ

NDID Platform ไม่ใช่ระบบเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเก็บอยู่ที่สมาชิก RP, IdP, AS ดังนั้น NDID จึงไม่เห็นข้อมูลการทำธุรกรรม โดย NDID จะเก็บแค่ข้อมูล Timestamp บนระบบ Blockchain ว่าสมาชิกมีการร้องขอการพิสูจน์ และยืนยันตัวตน ไปที่ IdP ใด ณ วันเวลาใด และ AS ใด มีการส่งข้อมูลกลับไปยัง RP วัน เวลาใด เช่นกัน ส่วนการส่งข้อมูลจาก AS กลับมายัง RP ก็เป็นการส่งนอก NDID Platform แต่รับส่งกันด้วย มาตรฐานที่ NDID เป็นผู้ออกแบบให้ จึงมั่นใจได้ว่า NDID ไม่เห็นข้อมูลรายละเอียดใดๆ ของลูกค้า (NDID is data privacy and security by design).

NDID Use Cases

NDID Platform สามารถใช้เป็น Platform กลางในการทำ Data Sharing ได้หลากหลาย Use Cases ตัวอย่างเช่น

  • การเปิดบัญชีออนไลน์ข้ามธนาคาร
  • การเปิดบัญชีเพื่อซื้อหลักทรัพย์, หลักทรัพย์จัดการกองทุน
  • การซื้อประกัน
  • การพิสูจน์ และยืนยันตัวตน โดยมีการให้ความยินยอมในการขอข้อมูล เพื่อการขอข้อมูลเครดิตประกอบการขอสินเชื่อ
  • การพิสูจน์ และยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีหรือเป็นสมาชิกธุรกิจ
  • การพิสูจน์ และยืนยันตัวตน โดยมีการให้ความยินยอมในการขอข้อมูลเพื่อขอข้อมูลต่างๆ เช่น ประวัติการรักษาพยาบาล หนังสือรับรองผลการเรียน เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)

ribbon_left
ribbon_right

แรบบิท ไลฟ์ พร้อมช่วยคุณเสมอ

เรายินดีรับฟังความต้องการของลูกค้า และให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่พร้อมก้าวกระโดดไปด้วยกันในทุกจังหวะชีวิตของคุณ

mascot
mascot